Last updated: 23 พ.ค. 2567 | 74 จำนวนผู้เข้าชม |
พิกัดกำลังไฟฟ้า (Power Rating) คืออะไร
พิกัดกำลังไฟฟ้า หรือเครื่องปั่นไฟ คือกำลังสุทธิที่จ่ายไปยังด้านนอกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อส่งไปที่โหลดซึ่งจะแยกส่วนกันกับที่ต้องจ่ายให้กับโหลดภายในเครื่องอีกที โดยได้มีการกำหนดเป็น kVA ที่ความถี่พิกัด และมีค่าตัวประกอบกำลังอยู่ที่ 0.8 Lagging หรืออาจมีการกำหนดให้เป็นค่าอื่นได้ด้วยเช่นกัน
Load Factor คืออะไร
Load Factor เป็นค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า ที่จะช่วยแสดงให้เห็นถึงความสม่ำเสมอของการใช้ไฟฟ้า โดยลักษณะการทำงานของ Load Factor จะทำงานเพื่อบอกคุณภาพในการใช้ไฟฟ้าว่ามีความสม่ำเสมอ หรือใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากในครัวเรือนมีการใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งการทำงานของระบบไฟฟ้ามีความสม่ำเสมอตลอดการใช้งาน ก็จะทำให้ Load Factor เป็น 100% ซึ่งแสดงถึงการมีประสิทธิภาพในการใช้งาน แต่หากการใช้ไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ และไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าใด การแสดงของ Load Factor ก็จะเข้าใกล้ 0% มากเท่านั้น
พิกัดกำลังไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามมาตรฐาน ISO 8525-1 (2018)
พิกัดกำลังไฟฟ้า (Power Rating) คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามมาตรฐาน ISO 8528-1 (2018) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักตาม Load Factor และตามระยะเวลาการใช้งานต่อปีที่แตกต่างกัน ตามรูปแบบของการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป โดยรายละเอียดมีดังนี้
1. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง
พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง (Continuous Power : COP / Base Load power) คือการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ขนานเข้ากับกระแสหลัก ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง จนถึงระดับ 100% ซึ่งไม่ได้มีการจำกัดเวลา ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานประกอบกับการบำรุงรักษา หรือสามารถใช้งานได้ตลอดเวลานั่นเอง
2. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบพร้อมใช้
พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบพร้อมใช้ (Prime Power : PRP) คือพิกัดกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง และไม่จำกัดเวลา หากแต่การใช้งานจะต้องไม่เกิน 70% ของพิกัดกำลังไฟฟ้าทั้งหมด อีกทั้งยังช่วยจ่ายไฟได้ในกรณีที่ไฟหลักเกิดความขัอข้อง โดยอย่างไรก็ตามพิกัดกำลังไฟฟ้าแบบพร้อมใช้จะสามารถใช้กำลังพิกัดได้ไม่เกิน 10% ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ในรอบการใช้งาน 12 ชั่วโมง
3. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบจำกัดเวลา
พิกัดไฟฟ้าแบบจำกัดเวลา (Limited Time Running Power : LTP) สามารถจ่ายพิกัดกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้สูงสุดเต็มพิกัดถึง 100% หากแต่จะสามารถใช้ได้ไม่เกิน 500 ชั่วโมงต่อปี
4. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบไม่จำกัดเวลา
พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบไม่จำกัดเวลา (Unlimited Running Time Prime Power : ULTP) คือสามารถจ่ายโหลดได้ต่อเนื่อง ตลอดเวลา หากแต่จะจ่ายได้ไม่เกิน 70% ของพิกัดกำลังไฟฟ้า และจะไม่มีการอนุญาตให้ใช้เกินพิกัดอย่างเด็ดขาด
5. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบดาต้าเซนเตอร์
พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบดาต้าเซนเตอร์ (Data Center Power : DCP) คือพิกัดกำลังไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องแบบไม่จำกัดเวลา สามารถใช้งานได้ตามพิกัดสูงสุด หากแต่จะไม่สามารถใช้เกินกว่าพิกัดสูงสุดได้เลย ซึ่งมีข้อแนะนำว่าไม่ควรใช้พิกัดกำลังไฟฟ้าประเภทนี้ ควบคู่ขนานไปกับแหล่งจ่ายไฟหลักนานจนเกินไป
6. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบสำรองฉุกเฉิน
พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบสำรองฉุกเฉิน (Emergency Standby Power : ESP) คือพิกัดกำลังไฟฟ้าที่สามารถใช้ทดแทนกำลังไฟฟ้าหลัก หากเมื่อแหล่งกำลังไฟฟ้าหลักทำงานไม่เสถียร หรือหยุดทำงานไปชั่วขณะด้วยเหตุขัดข้องต่างๆ โดยข้อกำหนดคือจะสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ไม่เกินกว่าพิกัดสูงสุด และกำหนดระยะเวลาไว้ที่ ไม่เกิน 200 ชั่วโมง ต่อ 1 ปี
สรุป
พิกัดกำลังไฟฟ้า หรือ Power Rating คือ กำลังสุทธิที่ถูกจ่ายไปยังโหลดของเครื่องปั่นไฟ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยจะแบ่งประเภทการใช้งานหรือแบ่งการดูพิกัดได้จากค่าความเสถียรความสม่ำเสมอของการใช้งาน ตามระยะเวลาในการใช้งาน ซึ่งหากสนใจที่จะเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สิ่งที่ต้องพิจารณาเลยคือความต้องการในการใช้งานว่าแบบใดจะเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานที่เราต้องการมากที่สุด เพื่อทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และคุ้มค่าต่อลักษณะการใช้งานของเรามากที่สุด
27 พ.ค. 2567
27 พ.ค. 2567
27 พ.ค. 2567
10 ก.ย. 2567