Last updated: 23 พ.ค. 2567 | 85 จำนวนผู้เข้าชม |
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) หรือที่เราเรียกติดปากกันสั้นๆ ง่ายๆ ว่าเครื่องเป็นไฟ เป็นอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า ทำงานโดยเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้จากการค้นพบของนักเคมี และฟิสิกส์ชาวอังกฤษอย่าง ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) เมื่อปี 1831 เขาได้นำลวดทองแดงมาพันกับวงแหวนเหล็ก และใช้ผ้าเป็นฉนวน จากนั้นต่อลวดกับเครื่องมือวัดกำลังกระแสไฟฟ้า (Galvonometer) เมื่อเขาขยับแม่เหล็กกลับไปกลับมา พบว่าเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น จึงทำให้หัวใจสำคัญของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในปัจจุบัน ได้มาจากการค้นพบของฟาราเดย์นั่นเอง
การใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้ามามีส่วนสำคัญในการผลิตไฟฟ้าสำรอง เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ไฟดับ ไฟฟ้าไม่เพียงพอ อุบัติเหตุ ภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า โดยเครื่องปั่นไฟแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. ชนิดกระแสตรง (Dynamo) 2. ชนิดกระแสสลับ (Alternator) อีกทั้งยังสามารถแบ่งตามขนาด และการการใช้งานได้ 2 แบบ
เครื่องปั่นไฟขนาดเล็ก-กลาง เครื่องปั่นไฟขนาดเล็ก-กลาง เป็นขนาดที่เหมาะกับการใช้งานในครัวเรือน ตามไซต์งานก่อสร้าง นำไปใช้ในการเชื่อมโลหะ แคมปิง หรืออุตสาหกรรมต่างๆ เครื่องปั่นไฟขนาดเล็กจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าเริ่มตั้งแต่ 1-20 กิโลโวลต์แอมป์ (kVA) สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก พกไปใช้นอกบ้านได้ ส่วนขนาดกลาง มีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 20-2,500 กิโลโวลต์แอมป์ (kVA) เหมาะกับการใช้กับอุตสาหกรรมขนาดกลาง-ใหญ่ เช่น ธนาคาร โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น
ตัวอย่างเครื่องปั่นไฟขนาดเล็ก-กลาง เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ (Portable generator) และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าอินเวอร์เตอร์ (Inverter generator)
เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้าสำรองได้ยาวนานหลายวัน มีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 4,000 กิโลโวลต์แอมป์ (kVA) ขึ้นไป ด้วยความที่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่จึงมักใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม อาคารสูง ธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างเช่น Standby generator ที่จะมีขนาดใหญ่ ราคาสูง เคลื่อนย้ายได้ยาก
เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่จำเป็นต้องติดตั้งบนพื้นคอนกรีต (Concrete pad) ที่ได้มาตรฐานเหมาะสมกับขนาดตัวเครื่อง สามารถรองรับน้ำหนัก และแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานของตัวเครื่องได้เป็นอย่างดี รวมทั้งต้องคำนึงมีความปลอดภัย มีที่กั้นไม่ให้คนภายนอกเข้าถึงตัวเครื่องได้ และมีควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยลดเสียงรบกวน
ประเภทของเครื่องปั่นไฟสามารถแยกได้เป็นหลายรูปแบบที่เป็นที่นิยมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ อย่างในประเทศไทย และประเทศในแถบยุโรปก็มีการเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่แตกต่างกัน
เครื่องปั่นไฟเบนซิน
เครื่องปั่นไฟเบนซิน เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เบนซินเป็นตัวขับเคลื่อน ถึงแม้เรียกว่าเครื่องปั่นไฟเบนซินแต่ก็สามารถใช้เชื้อเพลิงอย่าง เอทานอล หรือแก๊สโซฮอล์ได้เช่นเดียวกัน เหมาะกับการใช้งานในครัวเรือน เพราะถูกออกแบบให้มีการใช้เชื้อเพลิงที่น้อยลง และเหมาะกับการใช้งานที่ไม่บ่อยนัก อาจใช้เดือนละไม่เกิน 3 ครั้ง ครั้งละ 3-4 ชั่วโมง หากกำลังมองหาเครื่องปั่นไฟที่ใช้ในครัวเรือน เครื่องปั่นไฟของทาง Chuphotic ก็มีให้เลือกหลากหลายทั้งขนาด และการใช้งาน
ข้อดี ขนาดเล็ก ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวกง่ายดาย ใช้งาน และดูแลรักษาง่าย
ข้อเสีย หากไม่ได้ใช้งานเป็นประจำ หรือปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่ได้ใช้งาน จะสตาร์ตเครื่องติดได้ยาก
เครื่องปั่นไฟดีเซล
เครื่องปั่นไฟดีเซลใช้ดีเซลเป็นตัวขับเคลื่อน เหมาะกับการใช้งานที่หนัก และใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ออกแบบมาให้มีการเผาไหม้ที่ดี ใช้งานได้ยาวนาน และคงทนกว่าเครื่องปั่นไฟเบนซิน Product ของทาง Chuphotic ที่ใช้ดีเซลเป็นตัวขับเคลื่อนมีให้เลือกจากหลากหลายซีรีส์ ไม่ว่าจะเป็น Volvo, Perkins, Duetz และ Bauduoin
ข้อดี มีราคาไม่แพง แต่ทนทาน ให้กระแสไฟสม่ำเสมอ และสามารถหาซื้ออะไหล่ได้ง่าย
ข้อเสีย ขนาดใหญ่ เสียงดัง ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้าย ดูแลรักษาค่อนข้างยาก
เครื่องปั่นไฟอินวอเตอร์
เครื่องปั่นไฟแบบอินเวอร์เตอร์ คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่พัฒนามาจากเครื่องปั่นไฟแบบเบนซิน และดีเซล มีน้ำหนักเบา พกพาได้ง่าย มีหลากหลายขนาด ทั้งยังผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอ เครื่องปั่นไฟอินเวอร์เตอร์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขนาด คือ ขนาดพกพา (ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2,000 วัตต์) ขนาดกลาง (ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2,500-4,500 วัตต์ ) และขนาดใหญ่ (ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 5,000 วัตต์ขึ้นไป)
ข้อดี ขนาดกระทัดรัด พกพาง่าย ไม่มีเสียงรบกวน ประหยัดเชื้อเพลิง
ข้อเสีย ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจำนวนมากได้ หากเทียบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดอื่น
เครื่องปั่นไฟแบตเตอรี่
เครื่องปั่นไฟแบตเตอรี่ ไม่ได้ใช้งานจากเชื้อเพลิงอย่างน้ำมัน แต่เป็นการใช้แบตเตอรี่แทน ทำให้ประหยัดมากขึ้น ได้กระแสไฟฟ้าที่บริสุทธิ์ ไม่นิยมใช้ในไทย แต่นิยมในประเทศฝั่งยุโรปมากกว่า
ข้อดี ไม่ต้องสตาร์ต พกพาสะดวก
ข้อเสีย ราคาสูง เวลาใช้งานที่จำกัด
เครื่องปั่นไฟพลังงานแสงอาทิตย์
เครื่องปั่นไฟพลังงานแสงอาทิตย์ คือ เครื่องปั่นไฟที่นำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ มีการใช้แผงโซลาร์เซลล์มาใช้เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟตรง (Direct Current) แบตเตอรี่จะทำการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ สำหรับการใช้งานนั้น เหมาะกับการนำไปแคมปิง หรือเป็นแหล่งพลังงานสำรอง
ข้อดี ประหยัดเชื้อเพลิง เพราะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ พกพาสะดวก
ข้อเสีย ราคาสูง ใช้งานได้จำกัด
27 พ.ค. 2567
27 พ.ค. 2567
10 ก.ย. 2567
27 พ.ค. 2567