คลายข้อสงสัย! ไฟดับบ่อยเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือเมื่อเกิดไฟดับ

Last updated: 24 พ.ค. 2567  |  78 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 คลายข้อสงสัย! ไฟดับบ่อยเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือเมื่อเกิดไฟดับ

ไขข้อสงสัย ไฟดับ คืออะไร


ไฟดับ คือสถานการณ์ที่ไฟฟ้าหยุดไหล หรือขาดหายไปจากแหล่งจ่ายไฟฟ้า ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุเช่น ภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ การทำงานผิดปกติของอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือการตัดไฟฟ้า 
ไฟดับอาจทำให้เกิดความเสียหาย ความเสี่ยง หรือความไม่สะดวกต่างๆ ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ความถี่ของการดับ ดังนั้น ไฟดับ จะเป็นอันตรายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น การป้องกันและเตรียมการสำหรับเหตุการณ์ไฟดับ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างร้ายแแรงได้

เมื่อไฟฟ้าดับ ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง


เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับในครัวเรือน หรือบ้านหลังเดียว จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์อย่างตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอาการ หยุดทำงานกะทันหัน ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น อาจจะพังง่าย หรือหากไฟดับขณะที่ทำงานอยู่ อาจทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ในคอมพิวเตอร์สูญหายได้ นอกจากนี้ หากภายในบ้านมีผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หากเกิดไฟดับ เครื่องช่วยหายใจอาจจะหยุดทำงานและเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตได้

ทำไมถึงไฟดับ? สาเหตุเกิดจากอะไร
เมื่อรู้กันไปแล้วว่าไฟดับคืออะไร ก่อให้เกิดความเสียหายอะไรบ้าง มาดูสาเหตุของการเกิดไฟดับว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง ไปดูกันเลย

อุบัติเหตุ

เหตุไฟดับที่เกิดจากอุบัติเหตุ อาจทำให้ระบบไฟในบ้านเกิดความเสียหาย หรืออันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดการไฟดับแบบฉับพลัน หรือมีการไฟกระชาก หรือไฟตก อาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสียหาย หรือเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟดับเพราะอุบัติเหตุมีมากมายเช่น ต้นไม้ล้มทับสายไฟ สายไฟขาด เสาไฟฟ้าหัก เป็นต้น

ภัยพิบัติธรรมชาติ

ภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม พายุเข้า ฟ้าผ่า เป็นต้น อาจทำให้การจ่ายไฟฟ้าติดขัด หรือฟิวส์ขาดจนไม่สามารถส่งไฟฟ้ามายังบ้านได้ และก่อให้เกิดปัญหาไฟดับในที่สุด

ระบบผลิตไฟฟ้าขัดข้อง

ปัญหาระบบไฟฟ้าขัดขัดข้อง จนเกิดไฟดับเกิดจากหลายสาเหตุ และเป็นสิ่งที่แก้ไขด้วยตนเองไม่ได้ เพราะปัญหานี้เกิดจากโครงข่ายเชิงระบบ ต้องรอให้องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปแก้ไขเท่านั้น ซึ่งระยะเวลาในการแก้ไขเองก็ขึ้นอยู่กับต้นเหตุของการขัดข้องว่าแก้ไขได้ง่ายหรือยา

เกิดจากสัตว์

ปัญหาไฟดับที่เกิดจากสัตว์ เช่นนกมาทำรังที่สายไฟ หรือสัตว์ที่ขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าและเหยียบสายไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟช็อตตัวสัตว์และไหลลงสู่ดิน จนอุปกรณ์ป้องกันทำงานเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วไหล และทำให้ไฟดับลงในที่สุด

ค้างชำระค่าไฟฟ้า

การไฟฟ้าอาจจะต้องตัดไฟหากพบว่ามีการค้างชำระค่าไฟเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ชำระค่าไฟครบทุกเดือนแล้ว

วิธีรับมือที่ควรรู้! เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับ

เมื่อรู้กันไปแล้วว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟดับนั้น เกิดจากอะไรได้บ้าง มาดูการรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น โดยสามารถรับมือได้ ดังนี้

 ค้นหาสาเหตุที่ไฟดับ

- เพื่อแก้ปัญหาอย่างตรงจุด เมื่อไฟดับ เราต้องมองหาถึงสาเหตุของปัญหาให้เจอ เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาได้ ซึ่งปัญหาที่เกิดจากไฟฟ้าดับมีหลากหลายรูปแบบจากเนื้อหาที่กล่าวไปข้างต้น หากไม่รู้สาเหตุก่อน จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้

หาอุปกรณ์ที่ให้ความสว่าง

- หาอุปกรณ์ที่ให้ความสว่างในกรณีเกิดเหตุไฟดับ เช่นไฟฉาย สปอตไลต์ ไฟสำรอง หรือเทียน เพื่อป้องกันการเดินไปมาในความมืดแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น ทั้งนี้ หากจะใช้เทียน หรือไฟ เพื่อสร้างความสว่าง ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริเวณข้างเคียงไม่มีวัตถุนำไฟที่อาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ และเมื่อไฟมา อย่างลืมดับไฟที่จุดเอาไว้ เพื่อป้องกันเพลิงไหม้ และอุบัติเหตุต่างๆ

เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท

- เมื่อไฟดับ ควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีลมเข้ามาในบ้านมากพอที่จะไม่รู้สึกอึดอัด หรือหายใจไม่ออก นอกจากนี้บ้านที่เน้นใช้เครื่องปรับอากาศ เมื่อไฟดับอาจเกิดความชื้นมากกว่าปกติ จึงควรรีบเปิดหน้าต่างเพื่อเอาความชื้นออกจากห้อง

ปิดสวิตช์ หรือถอดปลั๊กไฟออกทั้งหมด

- ในช่วงที่ไฟดับหรือเกิดความขัดข้อง เพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม ควรปิดสวิตช์ ถอดปลั๊กไฟทั้งหมดออก เพราะหลายครั้งที่เกิดความเสียหายจากอาการไฟกระชาก จากการซ่อมบำรุง หรือการทดลองเปิดไฟ ดังนั้นเมื่อไฟดับจึงไม่ควรเสียบปลั๊กใดๆ ไว้ในบ้าน

ประหยัดพลังงานให้มากที่สุด

- ในช่วงที่ระบบไฟฟ้ามีความขัดข้อง สิ่งที่ควรทำคือการหาแหล่งพลังงานสำรอง และประหยัดการใช้พลังงานให้มากที่สุด ลดการใช้พลังงานที่เกินความจำเป็นลง เพื่อสำรองไว้ในกรณีฉุกเฉินอื่นๆ เช่น ไฟมาช้า ไม่มีการซ่อมบำรุง เป็นต้น

ติดต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง

- เมื่อไฟดับ ที่เกิดจากโครงข่ายสัญญาณการกระจายไฟฟ้า ควรติดต่อหาองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งแก้ไข หรือถามสาเหตุ โดยปกติจะติดต่อ กฟฝ. ในพื้นที่เพื่อประสานแก้ไขและปรับปรุงเพื่อให้ไฟฟ้ากลับมาใช้ได้ตามปกติ

ลดผลกระทบจากไฟดับ ทำได้อย่างไร?

เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับขึ้น จะต้องมีการวางแผน และเข้าใจถึงวิธีการรับมือ แต่ถึงแม้ว่าจะเตรียมการรับมืออย่างดีไว้มากเท่าไหร่ ก็บางอย่างก็อาจเหนือความควบคุม เช่น ความเสียหายที่เกิดจากการกระชากของไฟฟ้า ที่ส่งผลทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้
ดังนั้นแล้วสิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือการมีเครื่องปั่นไฟฉุกเฉิน ที่จะช่วยให้ไฟฟ้าสำรองในกรณีที่เกิดเหตุไฟดับหรือไฟตก เพื่อช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ๆ ก็ดับกะทันหัน เช่นคอมพิวเตอร์ และควรมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องปั่นไฟในกรณีที่ไฟดับ ทำให้มีไฟฟ้าใช้ได้ตลอด

สรุป

ไฟดับเกิดจากความขัดข้องของการส่งกระแสไฟไปยังบ้าน โดยปกติแล้วการจ่ายไฟจะส่งตรงจากหม้อแปลงใหญ่ไปถึงสายสัญญาณภายในบ้าน เวลาที่เกิดความขัดข้อง ทุกบ้านที่ใช้สายเดียวกันจะได้รับผลกระทบเหมือนกัน แต่หากไฟดับแค่หลังเดียว แต่ละแวกบ้านไม่ดับ หมายความว่าปัญหาอาจเกิดจากระบบไฟฟ้าภายในบ้านนั่นเอง 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้