เครื่อง UPS คืออะไร ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเสีย จากไฟตก ไฟดับได้ยังไง

Last updated: 24 พ.ค. 2567  |  47 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เครื่อง UPS คืออะไร ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเสีย จากไฟตก ไฟดับได้ยังไง

เครื่อง UPS คืออะไร ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเสีย จากไฟตก ไฟดับได้ยังไง

หากพูดถึงเหตุการณ์ไฟดับ ไฟตก ไฟกระชาก ระหว่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ก็คงเป็นฝันร้ายที่ใครก็ไม่อยากเจอ เพราะส่งผลต่อการทำงาน การบันทึกไฟล์งาน ที่สำคัญการที่เครื่องดับฉับพลัน ก็ส่งผลต่อชิ้นส่วนหรือแผงวงจรให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น UPS จึงเป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่มีส่วนช่วยให้คุณใช้งานคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น หากถามว่าทำไมทุกบ้านจึงควรมี UPS ไว้ติดบ้าน แล้วเครื่อง UPS คืออะไร? ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียจากไฟตก ไฟดับได้ยังไง? มาดูหลักการทำงานของ UPS ไปพร้อมกันได้ในบทความนี้


ส่วนประกอบและหลักการทำงานของแบตเตอรี่ UPS 

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักส่วนประกอบของเครื่อง UPS กันก่อนว่ามีส่วนประกอบไหนที่สำคัญบ้าง พร้อมหลักการทำงานของแบตเตอรี่ UPS ว่าทำหน้าที่อะไรบ้าง
เครื่องประจุแบตเตอรี่ (Charger) หรือ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (AC) เป็นกระแสไฟฟ้า DC (Rectifier) ทำหน้าที่รับพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) จากระบบจ่ายไฟ พร้อมทั้งแปลงกระแสไฟฟ้าที่ได้ ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และเก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแบตเตอรี่ ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
บตเตอรี่ (Battery) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น ไฟดับ ไฟตก หรือไฟกระชาก โดยแบตเตอรี่จะจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้กับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ให้สามารถใช้งานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่อไปได้

ประโยชน์ของแบตเตอรี่ UPS ที่ควรรู้

นอกจากประโยชน์หลักของแบตเตอรี่เครื่อง UPS คือ ช่วยเก็บรองพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ยังคงทำงานต่อไปได้ แบตเตอรี่ UPS ก็ยังมีประโยชน์มากมายต่อการใช้งาน ที่ไม่ควรมองข้าม ดังนี้
กรณีเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดของ เช่น ไฟดับ ไฟตก ไฟกระชาก ไฟไม่เสถียร แบตเตอรี่ UPS ก็จะยังจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ ยังทำงานได้ตามปกติ
แบตเตอรี่ UPS ช่วยป้องกันความเสียหาย ของแผงวงจรอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จากไฟดับ ไฟกระชาก ไฟตก และช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องขณะกำลังทำงาน แบตเตอรี่ UPS ช่วยสำรองไฟ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่อไปได้ ทำให้สามารถบันทึกไฟล์งานได้ตามปกติ โดยที่ไฟล์งานไม่เสียหาย
ประโยชน์ของแบตเตอรี่ UPS คือ ช่วยให้ปิดคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้องตามขั้นตอน โดยไม่ทำให้ข้อมูลและแผงวงจรภายในคอมพิวเตอร์เสียหาย

ทำไมทุกบ้านควรมีแบตเตอรี่ UPS 

 เพราะแบตเตอรี่ UPS คือ อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยป้องกันความเสี่ยง ความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องใช้กระแสไฟฟ้าที่เหมาะสมในการการทำงาน ซึ่งหากเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง ไม่ว่าจะเป็น ไฟดับ ไฟกระชาก ไฟตก หรือไฟฟ้าขัดข้องในวันฝนตก ก็จะส่งผลต่อความเสียหายกับคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่หากมีเครื่องสำรองไฟฟ้า และแบตเตอรี่ UPS ที่มีคุณภาพ ก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงและความเสียหายแก่อุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ได้อย่างไร้กังวล และไม่ว่าจะทำงานที่บ้าน หรือสตรีมเกม ก็จะสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร้กังวล โดยที่ไม่ต้องกังวลคอมพิวเตอร์จะดับจากการใช้ไฟฟ้าหนักอีกต่อไป

การดูแลแบตเตอรี่ UPS เพื่อยืดอายุการใช้งาน

หลักสำคัญในการทำงานของเครื่องสำรองไฟฟ้า คือ แบตเตอรี่ UPS เพราะแบตเตอรี่ ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องสำรองไฟฟ้า ซึ่งหากแบตเตอรี่ที่ใช้งาน เกิดความเสียหาย ผิดปกติ หรือชำรุด แน่นอนว่าเครื่องสำรองไฟฟ้าก็จะเสียหายตามไปด้วย ดังนั้น การดูแลแบตเตอรี่ UPS จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และต้องหมั่นดูแลอยู่เสมอ
หมั่นตรวจสอบแบตเตอรี่ UPS อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ว่าแบตเตอรี่มีรอยรั่ว มีรูปร่างผิดปกติหรือไม่ รวมถึงสายไฟต่างๆ ว่าสายไฟเชื่อมต่อถูกต้อง และสายไฟแต่ละเส้นสมบูรณ์หรือไม่ เพื่อป้องกันความเสียหายของแผงวงจร
ทำความสะอาดเศษฝุ่นละอองบนกล่องแบตเตอรี่ เพื่อป้องกันเศษฝุ่นละอองเข้าไปสะสม เพราะหากเศษฝุ่นเกาะหนามากเกินไป ก็จะส่งผลต่อการระบายความร้อน ทำให้แผงวงจรไฟฟ้าภายในเสียหายได้
หลีกเลี่ยงวางในที่ที่มีความชื้น และอากาศถ่ายเทไม่สะดวก เพราะอาจทำให้อุปกรณ์ลัดวงจร หรือเสียดาย และส่งผลให้แบตเตอรี่ UPS เสื่อมไวด้วยเช่นกัน
ควรปิดเครื่องสำรองไฟทุกครั้งหลังใช้งาน เพราะการที่เปิดเครื่องสำรองไฟไว้ตลอดเวลา จะทำให้เครื่องทำงานหนัก และส่งผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ UPS เสื่อมเร็ว ดังนั้น จึงควรปิดเครื่องทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อให้เครื่องได้พักจากการทำงาน

หลักการเลือกซื้อแบตเตอรี่ UPS แบบมืออาชีพ

สำหรับแบตเตอรี่ UPS ที่นิยมใช้งาน ก็มีหลายแบรนด์ หลายรุ่นให้ได้เลือกซื้อ แต่หากไม่แน่ใจว่า ควรเลือกซื้อแบตเตอรี่ UPS รุ่นไหน ถึงจะเหมาะกับการใช้งาน หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้น จึงมีวิธีเลือกซื้อแบตเตอรี่ UPS แบบมืออาชีพ ซึ่งจะเลือกซื้อได้อย่างไรบ้าง มาดูกัน
เช็กจำนวนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการใช้งาน เนื่องจากเครื่องสำรองไฟ จะมีจำนวนเต้าเสียบอุปกรณ์ที่ไม่เหมือนกัน จึงควรต้องเช็กอุปกรณ์ที่มี เพื่อการใช้งานที่เพียงพอและเหมาะสมดูขนาดแรงดันของแบตเตอรี่ UPS ให้เหมาะสม คือ การเลือกขนาดของแบตเตอรี่ UPS ให้เหมาะสม เพื่อให้มีกำลังไฟเพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งมีแรงดันแบตเตอรี่ให้เลือกตั้งแต่ 12V ขึ้นไป 
เช็กขนาดของแบตเตอรี่ให้เหมาะสม เพื่อที่สามารถนำแบตเตอรี่ไปใส่กับอุปกรณ์เดิมได้ ทำได้โดยวิธีการวัด กว้าง x ยาว x สูง
ดูค่าความจุของแบตเตอรี่ หรือ ค่าแอมป์ (Ah) หากมีความจุแบตมาก ก็จะสำรองไฟในการใช้งานได้มาก แต่การเลือกแบตเตอรี่ UPS มีข้อควรระวัง คือ ยิ่งมีความจุแบตมากเท่าไหร่ ขนาดก็จะยิ่งใหญ่มากขึ้นไปด้วย และไม่สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีอยู่ได้ ดังนั้น จึงควรเลือกความจุที่เพียงพอต่อการใช้งาน ก็จะดีที่สุด

สรุป

แบตเตอรี่ UPS คือ อุปกรณ์สำรองพลังงานไฟฟ้า ให้กับเครื่องสำรองไฟฟ้า หรือ UPS หากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้อง ไฟตก ไฟดับ หรือไฟกระชาก แบตเตอรี่ UPS ก็จะจ่ายพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ ใช้งานต่อไปได้ ซึ่งในปัจจุบัน แบตเตอรี่ UPS ที่นิยมใช้ มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่ แบตเตอรี่ Lead-Acid, แบตเตอรี่ Nickel-Cadmium และแบตเตอรี่ Lithium Ion อีกทั้งผู้ใช้งานก็ควรใส่ใจกับแบตเตอรี่ UPS ด้วยเช่นกัน เพราะหากแบตเตอรี่ UPS ที่ใช้งานอยู่เกิดชำรุดหรือเสียหาย ในขณะที่เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้อง ก็จะทำให้สำรองไฟไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ข้อมูล และอุปกรณ์เสียหายได้ง่ายๆ ดังนั้น ในการใช้งานจึงควรหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์อยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้