เครื่องปั่นไฟ หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Set)

Last updated: 7 มิ.ย. 2565  |  304 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เครื่องปั่นไฟ หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Set)

เครื่องปั่นไฟ หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Set)


คีย์เวิร์ด : เครื่องปั่นไฟ


สำหรับ เครื่องปั่นไฟ หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ( Generator set) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มาในรูปแบบของระบบสำรองไฟ ผู้คนเลือกใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองได้อย่างยอดเยี่ยม เปรียบเสมือนเป็นตัวช่วยสำคัญเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับระบบกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับโดยตรง เพื่อส่งผลทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีกระแสไฟฟ้าไว้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง


หลักในการทำงานของเครื่องปั่นไฟ หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ด้วยลักษณะการเปลี่ยนแปลงพลังงานกลให้กลายมาเป็นพลังงานไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟจัดได้ว่าเป็นเครื่องกลที่สามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานกลให้กลายมาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ แต่จำเป็นจะต้องอาศัยหลักในการหมุนของขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก หรือเป็นการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กผ่านขดลวดที่เป็นตัวนำ ส่งผลทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำขึ้นภายในขดลวดนั้น ๆ โดยลักษณะทั่วไปของเครื่องปั่นไฟสามารถแบ่งแยกได้ 2 ชนิด ดังนี้

1.       แบบกระแสตรง หรือ ไดนาโม

2.       แบบกระแสสลับ หรือ อัลเตอร์เนเตอร์

และเนื่องจากเครื่องปั่นไฟมีการสร้างกระแสไฟแบบสม่ำเสมอ เราจึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

-          เครื่องต้นกำลัง

นับได้ว่าเป็นส่วนที่ทำให้เกิดพลังงานกลภายในเครื่องปั่นไฟ โดยจะมีหลากหลายแหล่งที่สร้างพลังงาน ไม่ว่าจะเป็น กังหันไอน้ำ กังหันน้ำ เป็นต้น

-          ตัวผลิตพลังงาน (Generator)

ในส่วนของตัวผลิตพลังงานไฟฟ้านั้น มักจะต้องอาศัยการเหนี่ยวนำในส่วนของสนามแม่เหล็กร่วมด้วย เพื่อที่จะส่งผลทำให้เกิดเป็นพลังงานภายในเครื่องปั่นไฟได้ในที่สุด ถือได้ว่ามีหลากหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้

1.       ทุ่นหมุน หรือ Revolving Armature Type

ในรูปแบบนี้จำเป็นจะต้องอาศัยระบบการหมุนของขดลวดทองแดง โดยจะพันอยู่ตรงบริเวณเส้นแกนเพลาหมุนตัดตรงบริเวณเส้นแรงแม่เหล็ก ส่งผลทำให้เกิดการเหนี่ยวนำตรงบริเวณปลายของขดลวดทองแดงนั่นเอง

2.       ขั้วแม่เหล็กแบบหมุน หรือ Revolving Field Type

จำเป็นจะต้องอาศัยหลักในการหมุนของขั้วแม่เหล็กที่อยู่บนเพลา ส่งผลทำให้เส้นแรงแม่เหล็กได้ตัดบริเวณขดลวดทองแดงที่มีตรงเปลือก จนเกิดเป็นแรงดันไฟฟ้าตรงขวดลวดทองแดงมากยิ่งขึ้น

3.       ไม่มีการใช้แปรงถ่าน หรือ Brushless Type

นับได้ว่าเป็นรูปแบบที่ทำให้เกิดพลังงานภายในเครื่องปั่นไฟโดยตรง ซึ่งไม่ได้มีการใช้แปรงถ่านเพื่อที่จะเหนี่ยวนำพลังงานภายในสนามแม่เหล็ก ส่งผลทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำแบบสม่ำเสมอและยังควบคุมได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

 

อุปกรณ์หลัก ๆ ของ เครื่องปั่นไฟ หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

-          เครื่องยนต์ หรือ Engine

-          ไดร์ปั่นไฟ หรือ Alternator

-          ชุดควบคุม หรือ Controller

ในทุก ๆ ส่วนมักจะถูกประกอบร่วมกันเพื่อให้เป็นชุดเดียว แต่จะต้องมีชุดควบคุมคอยเป็นตัวสั่งการตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมทั้งอุปกรณ์ที่สามารถเลือกแหล่งจ่ายไฟได้ หรือเรียกว่า ATS หรือ Automatic Transfer Switch เพื่อกำหนดได้ว่าจะรับไฟจากส่วนไหนเป็นสำคัญ ระหว่างตัวหม้อแปลงหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั่นเอง

 

เทคนิคการดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟ

1.       ควรตรวจสอบพร้อมทั้งดูแลตัวเครื่องทุกครั้ง โดยจะต้องปิดสวิตช์และปิดระบบจ่ายไฟเสมอ

2.       ทุกครั้งที่มีการใช้งานเป็นระยะเวลา 20 ชั่วโมง จะต้องคอยตรวจสอบและดูแลเครื่องปั่นไฟ ดังต่อไปนี้

-          คอยตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น โดยน้ำมันจะต้องไม่มีตะกอนตกค้างหรือแม้กระทั่งคราบดำ ๆ ให้เห็น หากพบควรเปลี่ยนน้ำมัน หรือถ้าจะให้ดีควรเปลี่ยนน้ำมันทุกครั้งที่มีการใช้งาน

-          คอยทำความสะอาดหม้อน้ำกลั่นโดยใช้ผ้าที่มีลักษณะแห้งเช็ดทำความสะอาด และควรตรวจดูน้ำกลั่นเสมอ

-          หลังจากที่ได้มีการใช้งาน ตรงสายไฟหรือขั้วต่อจะต้องหมุนขั้วสายไฟให้มีลักษณะแน่น ควรใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดร่วมด้วย

-          ในส่วนของสายพาน ควรใส่น้ำมันหล่อลื่นหลังจากที่มีการใช้งาน และควรเปลี่ยนสายยางหากพบว่าชำรุด

3.       หม้อน้ำรังผึ้งบริเวณด้านนอกของตัวเครื่อง หลังจากที่ได้มีการใช้งานแล้ว ควรนำผ้าชุบน้ำแบบหมาด ๆ มาทำการเช็ดทำความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อลดอุณหภูมิและเป็นการป้องกันในส่วนของฝุ่นละอองร่วมด้วย

4.       ทุก 3 เดือน หรือหลังจากที่มีการใช้งานไปแล้ว 250 ชม. ควรดูแลรักษาตัวเครื่อง ดังต่อไปนี้

-          ควรถ่ายน้ำมันหล่อลื่น

-          ควรเปลี่ยนไส้กรองของน้ำมันหล่อลื่นร่วมด้วย

-          ควรทำความสะอาดในส่วนของไส้กรองด้านใน

-          ควรทำการตรวจสอบสภาพน็อต บริเวณต่าง ๆ ของตัวเครื่อง หากมีส่วนไหนหลวมควรทำให้มีลักษณะแน่นหนา หรือหากพบว่าชำรุดก็ควรเปลี่ยนแก้ไขทันที

5.       ทุก 6 เดือน หรือหลังจากที่ใช้งานไปแล้ว 500 ชม. ควรดูแลรักษาตัวเครื่องปั่นไฟ ดังต่อไปนี้

-          ควรเช็คและทำการเปลี่ยนไส้กรองเชื้อเพลิงของตัวเครื่อง

-          ควรเช็คและทำการเปลี่ยนไส้กรองอากาศร่วมด้วย

 

สำหรับ เครื่องปั่นไฟ หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่มีจัดจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปนั้น มักจะมีตัวต้นกำลังอยู่ด้วย และนิยมนำมาใช้ในรูปแบบของเครื่องยนต์ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น เบนซิล ดีเซล หรือแบบใช้แก๊สเป็นสำคัญ โดยทุกท่านสามารถทำการเลือกรูปแบบระบบการใช้งานที่ตอบสนองต่อความต้องการของระบบสายส่งได้ ซึ่งจะมีทั้งแบบระบบ 1 เฟส และ ระบบ 3 เฟส หรือจะเป็น 3 เฟสแบบ 4 สาย แต่ในส่วนของระบบควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้า มักจะมี 2 ชนิด นั่นก็คือ ชนิดแบบควบคุมด้วยมือ หรือ Manual และ ชนิดแบบควบคุมแบบอัตโนมัติ หรือ Automatic  แต่ในส่วนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ถูกนำมาใช้แบบเชิงอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ มักจะเป็นเครื่องปั่นไฟ หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระแสสลับเป็นหลัก โดยจะมีแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส และยังมีแบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แบบเบนซิลและดีเซลอีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้